รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle)

3 อย่างต้องรู้ ก่อนเป็นเจ้าของรถไฟฟ้า EV

หมวดหมู่ » วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

}

March, 2024

พูดถึงกันมากที่สุด.. รถยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น หลายค่ายรถยนต์ต่างปรับตัวแข่งขันกันอย่างดุเดือด เป็นผลดีกับเราหรือเปล่า? ที่จะได้มีตัวเลือกเพิ่มขึ้นด้วย แต่เมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วมจากฝนตกหนัก แถมรถยังผ่อนไม่หมด รถเก๋งไฟฟ้าลุยน้ำท่วมเพียงครึ่งล้อไฟช็อตรถดับสนิทล่ะจะกลายเป็นปัญหาของใคร

จากข้อมูลอ้างอิง เรื่องของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า EV ว่าด้วยเรื่อง IER : Institure For Energy Research ต้องมีการขุดลงไปเป็นเหมืองขนาดใหญ่ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติ โดยแบตเตอรี่ลิเธียมเป็นวัตถุดิบที่ต้องใช้ปริมาณมากต่อรถหนึ่งคัน และใช้พลังงานมากกว่ารถยนต์น้ำมัน (รถยนต์สันดาป) ถึง 3 เท่า

เมื่อแบตเตอรี่หมดวงจรชีวิตต้องทิ้งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่หลุมฝังกลบ ซึ่งอาจส่งผลให้สารประกอบอันตรายถูกชะลงสู่ดิน อาจเกิดเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ ซึ่งควบคุมได้ยาก เนื่องจากแบตเตอรี่มีขนาดใหญ่ ปริมาณขยะติดไฟปะปนอยู่ การรีไซเคิลแบตเตอรี่ มีราคาแพง ยากต่อการกำจัด

ไฟไหม้บ่อขยะ เมืองปากน้ำ จ.สมุทรปราการ รถดับเพลิงกว่า 10 คัน ระดมฉีดน้ำดับไฟไหม้บ่อขยะบนเนื้อที่กว่า 100 ไร่ควบคุมเพลิงได้ภายในไม่ถึงชั่วโมง ไม่ส่งผลกระทบกับชุมชนใกล้เคียง คาดเกิดจากแบตเตอรี่เก่าเกิดการสปาร์ค

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า EV
การเปลี่ยนแปลงสู่เทคโนโลยีสีเขียว (GO GREEN) โดยการสนับสนุนของภาครัฐที่กำลังผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าสู่ตลาด เชื่อกันว่า เป็นนวัตกรรมที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด ไม่มีการปล่อยไอเสีย  แต่คุณรู้หรือไม่? แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจากการทำเหมืองแร่ ขั้นตอนแปรรูป รวมถึงวิธีกำจัดแบตเตอรี่เมื่อสิ้นสุดวงจรชีวิต เมื่อมีการจำหน่ายมากขึ้น ความต้องการแบตเตอรี่ต้องเพิ่มขึ้นตามลำดับ

กระบวนการผลิตแบตเตอรี่ ส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าการผลิตรถยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 40 ของผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศมาจากการขุดเหมือง การกลั่นแบตเตอรี่ การผลิตเซลล์ โมดูล และชุดแบตเตอรี่ต้องใช้พลังงานจำนวนมาก

ปัจจุบัน ประเทศจีนยังคงครองห่วงโซ่อุปทานแบตเตอรี่ EV ของโลก ใช้พลังงานไฟฟ้า ร้อยละ 60 เปอร์เซ็นต์ที่ผลิตมาจากถ่านหิน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมาก ตามรายงานของ Wall Street Journal การทำเหมือง และการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนนั้น เลวร้ายต่อสภาพอากาศมากกว่าการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเสียอีก โดยเฉลี่ยต้องใช้ความต้องการพลังงานสะสม (CED) มากกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ทั่วไปด้วย


รายงานเน้นย้ำว่ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้นำไปสู่กิจกรรมการขุดแร่ลิเธียม (Lithium) ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าแร่ลิเธียมจะไม่ใช่ทรัพยากรที่จำกัดเหมือนกับเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่รายงานเปิดเผยว่ามีแร่ลิเธียมประมาณร้อยละ 25 ของประมาณ 88 ล้านตันบนโลกเท่านั้นที่สามารถสกัดมาทำเป็นแบตเตอรี่ได้ เพื่อให้เข้าใจถึงขนาดการบริโภคลิเธียม ให้พิจารณาว่า Tesla Plaid S ซึ่งติดตั้งชุดแบตเตอรี่ขนาด 100 กิโลวัตต์ชั่วโมง จะใช้ลิเธียมประมาณ 62 กิโลกรัม เทียบเท่ากับแบตเตอรี่ 18,650 ถึง 7,920 ก้อน อ้างอิงมาจากบทความ : แร่ Lithium ยิ่งขุดยิ่งเจอผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

การขุดหาแร่เป็นความไม่ยั่งยืน เนื่องจากการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแทนที่รถยนต์สันดาปทุกคัน จะทำให้ต้องมีการขุดในระดับที่น่าตกใจ และยังทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งในรายงานระบุวิธีการสกัดแร่ลิเธียมด้วยวิธีต่างๆ และเน้นย้ำว่า สกัดด้วยน้ำเค็ม เป็นหนึ่งในวิธีการที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการสูบน้ำที่อุดมด้วยเกลือจากพื้นดินเข้าสู่สระระเหย โดยแร่ลิเธียมที่อยู่ในสระจะค่อยๆ สะสมตัวเมื่อน้ำระเหยออกไป น่าเสียดายที่กรรมวิธีการสกัดแร่ริเธียมนี้ทิ้งสารเคมีเป็นพิษไว้ มีการปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำสะอาด แผ่นดิน และในอากาศ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้คนในท้องถิ่น

เหมืองลิเธียม Ganzizhou Rongda ในทิเบต เป็นตัวอย่างชัดเจนที่ได้รับผลกระทบจากการสกัดแร่ลิเธียมด้วยน้ำเค็ม เหมืองแห่งนี้ถูกตำหนิว่าสร้างพิษให้กับแม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียง ส่งผลให้ปลา สัตว์น้ำนานาชนิด และปศุสัตว์ที่อาศัยในแหล่งน้ำเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

การค้นพบข้อเสียของการขุดแร่ลิเธียมนี้ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่ลิเธียมที่กำลังเฟื่องฟูที่ถูกขับเคลื่อนโดยอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ต้องเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนซึ่งช่วยลดผลกระทบด้านลบของการสกัดทรัพยากร



ภาพเหมืองลิเธียม Ganzizhou Rongda ในทิเบต การกำจัดแบตเตอรี่ยังเป็นภัยคุกคามต่อสภาพอากาศอีกด้วย หากแบตเตอรี่ถูกฝังกลบ เซลล์ของแบตเตอรี่ยังคงสามารถปล่อยสารพิษ รวมถึงโลหะหนักที่สามารถรั่วไหลลงสู่แผ่นดิน และแหล่งน้ำใต้ดินได้ การศึกษาจากออสเตรเลียพบว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนร้อยละ 98.3 ต้องไปฝังกลบ ซึ่งเพิ่มโอกาสที่จะเกิดเพลิงไหม้จากหลุมฝังกลบที่อาจลุกไหม้ได้นานหลายปีตามที่เป็นข่าวทั่วไป

องค์ประกอบของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนประกอบด้วยเซลล์ซึ่งมีวัสดุออกฤทธิ์ ระบบจัดการแบตเตอรี่ และแพ็คซึ่งเป็นโครงสร้างที่ใช้ติดตั้งเซลล์ อลูมิเนียมมีความสำคัญต่อส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์เนื่องจากมีน้ำหนักเบา แต่เป็นวัสดุที่ใช้พลังงานมาก คิดเป็นร้อยละ 17 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแบตเตอรี่ และร้อยละ 40 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของแบตเตอรี่นั้น มาจากขั้นตอนการขุด การแปลง และการกลั่นกรองวัสดุออกฤทธิ์ของเซลล์ ซึ่งนิกเกิล แมงกานีส โคบอลต์ ลิเธียมถูกแปรรูปเป็นผงแคโทด การผลิตเซลล์ตามจริงเป็นกิจกรรมที่ต้องการพลังงานมากเป็นอันดับ 2 และคิดเป็นร้อยละ 20 ของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันเนื่องมาจากพลังงานที่ใช้ในระหว่างกระบวนการผลิต

ปัญหาเกี่ยวกับการขุดวัตถุดิบแบตเตอรี่

โดยทั่วไปการขุด 2 ประเภท ที่เป็นสิ่งจำเป็นในการสกัดแร่ คือ การขุดแบบเปิด และการสกัดน้ำเค็ม (น้ำเกลือ) โดยใช้น้ำปริมาณมากที่ถูกสูบ เข้าไปในบ่อเกลือ เพื่อนำน้ำเค็ม ที่มีแร่ธาตุขึ้นสู่ผิวน้ำ เมื่อน้ำระเหย ลิเธียมจะถูกกรองจากส่วนผสม แต่กระบวนการที่ใช้น้ำมาก ย่อมมีโอกาสปนเปื้อนในแหล่งน้ำได้ แหล่งลิเธียมมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า ลิเธียมไทรแองเกิล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เทือกเขาแอนเดียนของอาร์เจนตินา โบลิเวีย และชิลี พื้นที่นี้เป็นหนึ่งในสถานที่แห้งแล้งสุดของโลก โดยต้องใช้น้ำมากถึงร้อยละ 65 ของภูมิภาค ความต้องการที่เพิ่มขึ้นจะสร้างแรงกดดันต่อปัญหาน้ำมากขึ้นตามลำดับ

โคบอลต์ที่จำเป็นสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าซึ่งส่วนใหญ่ขุดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC) การทำเหมืองแร่ ก่อให้เกิดผลพลอยได้ที่เป็นอันตรายซึ่งสามารถเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เหมืองโคบอลต์ประกอบด้วยกำมะถัน ซึ่งสร้างกรดซัลฟิวริก เมื่อสัมผัสกับอากาศ และน้ำที่ปนเปื้อนลงสู่แม่น้ำ

แรงงานเด็กยังคงถูกนำมาใช้สกัดแร่ในประเทศคองโก เพื่อขุดโคบอลต์ รวมถึงร้อยละ 80 ของเหมืองโคบอลต์ อุตสาหกรรมใน DRC เป็นเจ้าของ หรือได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทประเทศจีนด้วย

หมายเหตุ : ภาพและวีดีโอในบทความเรื่องนี้ มาจากฐานข้อมูลของเว็บไซต์อื่นๆ หากว่ามีการถูกลบหรือโยกย้ายจะส่งผลให้ไม่แสดงผลตามไปด้วย

เรื่องนี้ถูกบันทึกในสภาวะอันตรายโดยคนงานเหมืองฝีมือดี รวมถึงเด็กๆ หลายพันคน ขุดโคบอลต์ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก คนงานเหมืองขุดหินจากอุโมงค์ลึกลงไปใต้ดินโดยใช้เครื่องมือช่างขั้นพื้นฐาน และเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง แม้ว่าการสัมผัสโคบอลต์เป็นเวลานานอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่คนงานเหมืองทั้งผู้ใหญ่ และเด็กยังคงทำงานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเลย

แท็กทั้งหมด » บทความ

ไง! ถ้าคุณได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ยินดีมากเลยที่จะช่วยกดแชร์ไปยังเพื่อนของคุณ และเรายังมีเรื่องเจ๋งกว่านี้ คิดว่าคุณน่าจะชอบอยู่ด้านล่าง

7
3 อย่างต้องรู้ ก่อนเป็นเจ้าของรถไฟฟ้า EV

3 อย่างต้องรู้ ก่อนเป็นเจ้าของรถไฟฟ้า EV

พูดถึงกันมากที่สุด.. รถยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น หลายค่ายรถยนต์ต่างปรับตัวแข่งขันกันอย่างดุเดือด เป็นผลดีกับเราหรือเปล่า?...

เผยแพร่ »
Hacksaw Ridge 2016 วีรบุรุษสมรภูมิปาฏิหาริย์

Hacksaw Ridge 2016 วีรบุรุษสมรภูมิปาฏิหาริย์

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า… คุณต้องรบในสงครามโลกโดยปราศจากทุกอาวุธ จะยอมไหม? เป็นคนบ้าให้หลายคนดูถูกทั้งความเชื่อ และความศรัทธา...

เผยแพร่ »
จุดจบของคนดีย์แบบใด๋ห์

จุดจบของคนดีย์แบบใด๋ห์

พูดถึงกันมากที่สุด.. ชื่อเรียกพระพุทธเจ้าน้อย (Buddha Boy) ไม่ใช่จะได้มาง่ายๆ ต้องเริ่มจากการทำสมาธินานหลายปีจนมีชื่อเสียงโด่งดัง...

เผยแพร่ »
Contact 1997 อุบัติการณ์สัมผัสห้วงอวกาศ

Contact 1997 อุบัติการณ์สัมผัสห้วงอวกาศ

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า.. เราเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวในจักรวาล ถ้าจริงคง เวิ้ง ว้าง ว่าง เปล่า นี่เป็นการตั้งคำถามปลายเปิดตั่งแต่ต้นเรื่องจนจบในตอน...

เผยแพร่ »
ดาวศุกร์มีมนุษย์ต่างดาวจริงหรือไม่

ดาวศุกร์มีมนุษย์ต่างดาวจริงหรือไม่

ดาวศุกร์ถูกเรียกว่าดาวเคราะห์น้องฝาแฝดของโลก มีวงโคจรอยู่ใกล้โลก และมีขนาดใกล้เคียงกับโลกมากที่สุด...

เผยแพร่ »

แชทพูดคุยกัน

0 Comments

Submit a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

หมายเหตุ :

  • ไม่ต้องระบุตัวตน จะไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้งาน
  • คอมเม้นต์ของคุณจะถูกตีพิมพ์ด้วยระบบอัตโนมัติของเว็บไซต์อยู่เสมอ อัพเดตผ่านทางคอมพิวเตอร์อนุมัติทันที
  • หากมีการเชื่อมโยง (URL) ไปยังบุคคลที่สาม หรือทางอื่นอาจจะมีการตรวจสอบเพิ่มเติมในวันและเวลาทำการของเรา
  • โปรดตรวจสอบข้อความทุกตัวอักษรให้ชัดเจนก่อนกดปุ่มตกลงทุกครั้ง ขอสงวนสิทธิ์ ลบ ขีดฆ่า และแก้ไข