ระดับความสำเร็จ :

การบินไทยตกที่เนปาล TG-311 กรุงกาฐมาณฑุ

  • วันที่เผยแพร่

    August, 2024
การบินไทย TG-311 กาฐมาณฑุ

หนึ่งในอุบัติเหตุสะเทือนใจคนไทย แถมเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก คือ การบินไทย TG-311 อยู่ในตอนที่ 10 ซีซั่นที่ 17 สารคดี Air Crash Investigation ชื่อตอนว่า The Lost Plane ย้อนรอยเรื่องเล่านี้กว่า 30 ปีมาแล้ว ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ออกเดินทางจากสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินตรีภูวัน กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ใช้เครื่องบินแอร์บัส 310 ประวัติของเครื่องบินได้จัดซื้อต่อมาจากประเทศแคนาดา อายุ 5 ปี

พูดถึงกันมากที่สุด.. ย้อนรอยเที่ยวบินสุดท้ายของ TG-311 ชนภูเขาขณะเตรียมลงจอดที่สนามบินตรีภูวัน กรุงกาฐมาณฑุ

ไฟท์บินมีนักบินทั้งหมด 2 คน เป็นกัปตันมากประสบการณ์อดีตทหารอากาศ ยศเรืออากาศโท อายุ 41 ปี ส่วนนักบินผู้ช่วยเป็นอดีตทหารอากาศ ยศนาวาอากาศตรีอายุ 52 ปี เคยทำการบินที่นี่แล้วทั้งหมด 14 ครั้ง และลูกเรือทั้งหมดอีก 12 คน ดูแลผู้โดยสารทั้งหมด 99 คน

การบินไทย TG-311 กาฐมาณฑุ
การบินไทย TG-311 กาฐมาณฑุ
การบินไทย TG-311 ชนภูเขา ที่กาฐมาณฑุ

เสียงจากกล่องดำ TG-311

อ้างอิงจาก : เหตุการณ์จำลองวิชา Safety ในการเรียนหลักสูตร CPL ของโรงเรียนการบิน BAC เพื่อเป็นกรณีศึกษา และทางกลุ่มขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นครูของนักบินยุคหลังด้วย เสียงการสนทนาทั้งหมดเป็นการพากย์ขึ้นจากทางกลุ่มให้เป็นภาษาไทย

เริ่มออกเดินทางตั่งแต่ช่วงสายของวัน 10:30 น. จะต้องถึงช่วง 12:55 น. ตามเวลาท้องถิ่น ตัวสนามบินอยู่ใกล้ เทือกเขาหิมาลัย ถูกจัดเป็นสนามบินที่นำเครื่องบินลงจอดยากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาสูง แล้วยังก็เป็นบริเวณที่มีสภาพอากาศที่แปรปรวนอยู่บ่อยครั้งจากลมภูเขา ส่งผลให้มีเมฆ หมอก และกระแสลมแรงอยู่ตลอดเวลา สมัยนั้น สนามบินยังขาดเรดาร์ที่ทันสมัย ทำให้หอบังคับการบินไม่สามารถรู้ตำแหน่งของเครื่องบินเลย จะใช้วิธีการจดตำแหน่งล่าสุดที่นักบินได้แจ้งทางวิทยุพูดคุยสื่อสารกัน

เนื้อหาในสารคดี เปิดเผยถึงความสับสนหลงทิศของกัปตันการบินไทย TG-311 ที่กำลังจัดเตรียมเครื่องบินลงจอดแล้วโดยใช้รันเวย์ทางทิศใต้หมายเลข 02 เพราะว่าความสูงของภูเขาเตี้ยกว่าด้านอื่นๆ ในขณะที่เครื่องบินกำลังบินลดระดับลง หอบังคับการบินได้แจ้งมาว่าทัศนวิสัยไม่ดีแถมมีฝนตกหนักบริเวณพื้นที่นั้น ทำให้ไม่สามารถลงจอดได้ แต่ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติม คือ ลงจอดทิศฝั่งตรงข้ามที่รันเวย์หมายเลข 20 แทน ดังนั้น กัปตันจึงตัดสินใจเลือกใช้วิธีที่เรียกว่า เซอร์คิง (Circling Approach) คือ การบินขนานกับรันเวย์พร้อมลดระดับความสูงลงด้วย แล้วจึงวนกลับมาลงจอด แต่กัปตันได้ประเมินความเสี่ยง จึงตัดสินใจจะไปลงจอดสนามบินสำรองที่สนามบินกัลกัตตา ประเทศอินเดียแทน

ต่อมา…หอบังคับการบิน ได้แจ้งทางวิทยุว่า รันเวย์หมายเลข 02 สามารถลงจอดได้แล้ว กัปตันเลยตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางเพื่อจะนำเครื่องไปลงจอด ซึ่งในระหว่างที่ร่อนลงมานั้น ได้เกิดปัญหากับแฟลบ (Flap) กางไม่เต็มที่หนึ่งข้าง กัปตันได้มีการตัดสินใจในวินาทีคับขันอยู่หลายครั้งว่าจะยกเลิกทำการลงจอดหรือไม่? จน 20 วินาทีต่อมา แฟลบกลับมาทำงานได้เต็มรูปแบบแล้ว แต่ระดับความสูงมากเกินไปจึงได้ติดต่อหอควบคุมการบินเพื่อจะเลี้ยวไปทางซ้าย และวนกลับใหม่ โดยป้อนคอมพิวเตอร์ทำการบินของจุดลงจอดนี้ว่า โรมิโอ (Romio)

จากนั้นได้ขาดการติดต่อกับหอบังคับการบิน ซึ่งกัปตันพยายามวิทยุไปอีก 3 – 4 ครั้ง จนหอบังคับการบินได้ให้ข้อมูลแจ้งกลับว่า ไม่สามารถให้เลี้ยวซ้ายได้ เพราะว่ามีเครื่องบินอยู่ จึงเป็นเหตุผลให้ต้องหันหัวเครื่องเลี้ยวไปทางขวาแทน ตั้งใจว่าจะบินเป็นครึ่งวงกลมกลับมา (ยูเทิร์น) ยังจุดโรมิโอ (Romio) อีกครั้ง ในระหว่างเตรียมการลงจอด ปรากฎว่า ทัศนวิสัยไม่ดีมีหมอกหนาส่งผลให้เกิดความสับสน หลงทิศโดยคิดว่าหันเครื่องบินไปทางทิศใต้แล้ว กัปตันได้สั่งผู้ช่วยนักบินให้ลงข้อมูลโรมิโอ (Romio) ไปยังระบบนำร่องลงจอด แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จังหวะนั้นมีเสียงเตือนเริ่มดังขึ้นเป็นระยะว่า เชิดหัวขึ้น! เชิดหัวขึ้น! ผู้ช่วยนักบินได้สังเกตุเห็นจากบนหน้าจอ เลยแจ้งเตือนไปยังกัปตันว่า ตอนนี้กำลังอยู่ทางทิศเหนือของสนามบินแล้ว แต่เกิดการโต้เถียงว่าอาจเป็นปัญหาของหน้าเสียหรือไม่ จนผ่านมาเกือบหนึ่งนาทีสุดท้ายแห่งหายนะ การบินไทย TG-311 ปะทะกับเทือกเขาที่ความสูง 11,500 ฟุต ทางทิศเหนือ

เส้นทางบิน การบินไทย TG-311 กาฐมาณฑุ
วิวจากหน้าต่างเครื่องบิน สนามบินตรีภูวัน ประเทศเนปาล
วิวจากหน้าต่างเครื่องบิน สนามบินตรีภูวัน ประเทศเนปาล

การค้นหาผู้รอดชีวิตแทบเป็นศูนย์ กินเวลามากกว่าสองวัน จนกระทั่งมีชาวบ้านมาแจ้งพบเศษซากเครื่องบินกระจัดกระจายเป็นจำนวนมาก ทำให้ทางการเร่งส่งเจ้าหน้าทีมค้นหาไป แต่ด้วยอากาศที่เบาบางของภูเขาหนึ่งในทีมค้นหาได้เสียชีวิตด้วย

ผู้สอบสวนได้ตั้งข้อสังเกตุว่า กัปตันทำหน้าที่ทั้งขับเครื่องบิน และวิทยุพูดคุยด้วยตัวคนเดียว ขาดการแบ่งหน้าที่กัน ทำให้เสียสมาธิจึงเป็นเหตุให้หลงทิศ เป็นที่มาของบทเรียนที่น่าเศร้า และสะเทือนใจของใครหลายๆ คน จนถึงทุกวันนี้ และหลังจากได้เกิดเหตุ การบินไทย TG-311 ชนภูเขาไปแล้ว 59 วัน ได้เกิดอุบัติเหตุซ้ำ เป็นเครื่องบินแอร์บัส A-300 สายการบินปากีสถานหมายเลข PK-268

ปัจจุบัน การบินไทยได้เปลี่ยนรหัสของเที่ยวบินกรุงเทพ ไปกาฐมาณฑุแล้ว จากเดิม คือ การบินไทย TG-311/312 เป็น การบินไทย TG-319/320 และยกเลิกธรรมเนียมการจับคู่นักบินที่มีอายุห่างกันมากกว่า 10 ปีขึ้นไป รวมถึงฝึกนักบินเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำขึ้นอีก

ตามวีดีโอ อนุสรณ์สถานคาคานี (Kakani Memorial Park) เหตุกาณ์นี้ถือเป็นเหตุการณ์ใหญ่ครั้งสำคัญทั้งกับประเทศไทย และประเทศเนปาลด้วย โดยเป็นจุดเริ่มต้นในการปรับปรุงมาตรการ ด้านความปลอดภัยครั้งใหญ่ที่มีการสูญเสียอย่างมาก สร้างความสะเทือนใจให้กับคนทั่วโลก

และเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นดังกล่าว มีการสร้างอนุสรณ์สถานอยู่บริเวณใกล้เคียงกับจุดตกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ภายในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนต้นไม้และดอกไม้ มีป้ายแสดงความรำลึกถึงเที่ยวบินการบินไทย TG-311 ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเนปาล พร้อมสัญลักษณ์การบินไทยที่ทำขึ้นมาจากหินรวมถึงมีการสลักชื่อผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ไว้ที่ก้อนหินที่ก่อตัวขึ้นเป็นกำแพงในมุมหนึ่งของสวนด้วย

Air Crash Investigation SS17 EP.10 I เครื่องบินที่หลงทาง

Air Crash Investigation SS17 EP.10 I เครื่องบินที่หลงทาง หาสาเหตุการตกเครื่อง A310 flight 311 สายการบินไทย #airdisaster #mayday #aircrashinvestigation

โพสต์โดย เมย์เดย์ หายนะภัยทางอากาศ เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2023

เสียงชาวเน็ตต่อสารคดี

1. น่าเศร้าใจกับระบบการทำงานแบบนี้ พวกยศตำแหน่ง และกับลูกเรือทุกคน ขอให้ไปสู่สุขคติ

2. อาถรรพ์หมายเลข 13 หมายเลขเครื่อง 311 เหตุเกิดวันที่ 31 ผู้เสียชีวิต 113 ชีวิต

3. ขอไว้อาลัยให้กับทุกดวงวิญญาณ จริงๆ สนามบินควรจะติดเรดาร์ตั้งนานแล้ว

4. ขอให้ทุกดวงวิญญาญที่อยู่บนเที่ยวบิน การบินไทย TG-311 ที่ประสบอุบัติเหตุในวันนั้นไปสู่สุคติ

5. สนามบินนี้ปราบเซียนอยู่เเล้ว เเต่เท่าที่ฟังกล่องดำ ภาษาอังกฤษสำเนียงเเขกอาจทำให้ฟังไม่ชัด เเต่กับตันอีโก้มากไปนะน่าจะเลี้ยวตั้งเเต่มีเสียงแจ้งเตือนเเล้ว

6. เหตุนี้ดูครั้งแรก… เกือบคิดว่าต้นเหตุ คือ กัปตัน แต่พอมาฟังอีกแล้วคิดดีๆ ต้นเหตุเป็น ATC มากกว่าที่นอกจากสื่อสารไม่ชัดเจน ยังไม่ยอมบอกสภาพอากาศ และทัศนวิสัยอีก

7. งานยากมากสมัยก่อนที่ไม่มีเรดาร์ เจอการตัดสินใจของ ATC อีก ทั้งสื่อสารกันไม่ยาก แต่สำเนียงอินเดียฟังยากมาก! สภาพอากาศบดบังทัศนวิสัย  สภาพภูมิอากาศห้อมล้อมด้วยภูเขาสูง และยังมีการทำงานติดขัดของแฟลบอีก ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก ไม่มีเวลาสำหรับวิธีคิด และการตัดสินใจเช่นในยามปกติแม้แต่นิดเดียว

8. กัปตันตั้งใจจะเลี้ยวกลับ แต่ว่าหมุนเกินไปครึ่งรอบ โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ เพราะว่าทำทุกอย่างด้วยตัวเองมากเกินไป ทำให้เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น

9. ตามหลักแล้วกัปตันควรจะเชื่อสัญญาณเตือนของระบบเครื่องบินมากกว่าความรู้สึกตัวเอง เคสนี้สถานการณ์รอบด้านมันแย่ไปหมด แถมยังตัดสินใจผิดพลาดซ้ำไปอีก น่าเศร้า!

10. ทำไมต้องรอให้มีอุบัติเหตุอีกครั้งถึงจะเริ่มติดตั้งเรดาร์ สิ่งนี้สำคัญควรจะติดตั้งก่อน ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวทุกคนที่ต้องสูญเสียด้วย

11. สงสารคนทั้งหมดในเครื่องเลย เจ้าหน้าที่หอบังคับการทำงานช้ามาก เเล้วยังมาบอกว่าลงจอดได้สภาพอากาศดีเยี่ยม เเต่นักบินต้องมาเจอหมอกหนาทึบ การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญมากจริงๆ แต่ก็เข้าใจว่ายุคนั้นอะไรๆ มันก็คงจะลำบาก เสียใจกับเหตุการณ์นี้มากๆ

12. มันมีหลายช๊อตมากที่จะไม่เกิด คือ ถ้านักบินถอดใจก่อน กลับกาฐมาณฑุ ตั้งแต่เจอไม่มีทางแลนดีๆ  หรือตอนที่จะลงแล้วระยะมันไม่ได้ เพราะปีกมีปัญหาก็คงไม่เกิดเหตุ มันคงเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นจริงๆ โกรธทางการนะต้องให้มีเครื่องบินชนไปถึง 2 เครื่อง ถึงจะซื้อเรดาร์

มีผลกระทบอะไรบ้างหลังเหตุการณ์นี้?

  • นักสืบสวนอังกฤษ Gordon Corps เสียชีวิต ขาดอ็อกซิเจนระหว่างเดินทางไปยังจุดเครื่องบินตก
  • มีการติดตั้งเรดาห์ที่สนามบินตรีภูวัน
  • การบินไทยบังคับนักบินเข้าอบรมถึงการจัดแบ่งหน้าที่ แบ่งภาระในห้องนักบินอย่างเคร่งครัด
  • การบินไทยยกเลิกเที่ยวบินที่ 311 และ 312 ไปใช้เที่ยวบินที่ 319 และ 320 แทน
  • ภายหลังมีการยกเลิกเครื่องบินรุ่นแอร์บัส A310 ไปใช้โบอิ้ง B777 แทนใน ปี พ.ศ. 2544

อนุสรณ์สถานคาคานี (Kakani Memorial Park) อยู่ตรงไหน?

อนุสรณ์สถาน การบินไทย Tg-311 กรุงกาฎมัณฑุอนุสรณ์สถาน การบินไทย TG-311 กาฐมาณฑุเศษซากเครื่องบินตก การบินไทย Tg-311 กรุงกาฎมัณฑุอนุสรณ์สถาน การบินไทย Tg-311 กรุงกาฎมัณฑุอนุสรณ์สถาน การบินไทย Tg-311 กรุงกาฎมัณฑุ Kakani Memorial Park Thai Airways TG-311

เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานคาคานี (Kakani Memorial Park) อยู่บริเวณใกล้เคียงกับจุดตกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกาฐมัณฑุ ตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัย ตั้งอยู่สู่งกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 2,000 เมตร บริเวณเมืองคาคานี (Kakani) จังหวัดนูวาคต (Nuwakot) ที่นอกจากจะเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของนักปีนเขาจากทั่วโลกแล้ว ยังมีอนุสรณ์สถานดังกล่าวที่ใครผ่านไปมามักจะแวะไปเยี่ยมเยียน ภายในอนุสรณ์สถานมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนต้นไม้ และดอกไม้พร้อมป้ายแสดงความรำลึกถึงเที่ยวบิน TG311 ทั้งภาษาไทย อังกฤษ และเนปาล พร้อมสัญลักษณ์การบินไทยที่ทำขึ้นมาจากหินรวมถึงมีการสลักชื่อผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ไว้ที่ก้อนหินที่ก่อตัวขึ้นเป็นกำแพงในมุมหนึ่งของสวน นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปภายในสวนเพื่อเป็นที่ให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชมได้แวะสักการะ

หมายเหตุ : ภาพและวีดีโอในบทความเรื่องนี้ มาจากฐานข้อมูลของเว็บไซต์อื่นๆ หากว่ามีการถูกลบหรือโยกย้ายจะส่งผลให้ไม่แสดงผลตามไปด้วย

แท็กสำคัญ » ความเชื่อ | สารคดี | เครื่องบินตก

สินค้าขายดี

0 Comments

Submit a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

s

บทความทั้งหมด และความคิดเห็นจากผู้ใช้งาน

ขอแจ้งว่า บทความส่วนหนึ่งเกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน ผู้ดูแลเว็บไซต์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและร่วมรับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทุกกรณี ควรพึงระวังด้วยสามารถตั้งข้อสังเกตุบุคคลที่สามได้โดยสุจริต เท่านั้น

อ่านต่อกันมากที่สุด

  • อาหาร
  • สารคดีเชิงข่าว
  • วิชา สปช.
  • รู้ทันยุคสุดท้าย
  • มิติลี้ลับ
  • ดัชนีข้าวเหนียว
ไก่ย่างแดงโบราณ

ไก่ย่างมีหลายสูตร ที่เห็นได้บ่อย คือ ไก่ย่างแดง ซึ่งเป็นการแต่งสีด้วยสีส้มแดง นุ่ม หวานเข้ากัน ปรุงรสง่ายๆ...

ขนมมันสำปะหลัง

ขนมมันสำปะหลัง ต้องใช้พันธุ์สำหรับทำขนมเท่านั้น ถามจากแม่ค้าในตลาดได้เลยว่า  มัน 5 นาที...

หมูกระจก

เลือกเป็นมันหมูแข็งที่เห็นในร้านหมูกระทะ ไม่ใช่เปลวหมูเหลวเพื่อเจียวเอาน้ำมัน หั่นไม่ต้องบาง...